คำไวพจน์ หมวด ถ
คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนต่างกันหรือใช้ในบริบทต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า คำพ้องความ / การหลากคำ / คำพ้องรูป / คำพ้องความหมาย
คำพ้องมีกี่ประเภท?
ปัจจุบัน มีการศึกษาคำที่พ้อง และแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความหมายหรือคำพ้องความ
คำพ้องรูป คือคำที่มีรูปเขียนเหมือนกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้ เช่น คำว่า ชิน แปลว่า คุ้นจนเจน หรือผู้ชนะ หรือเนื้อโลหะเจือชนิดหนึ่ง
คำพ้องเสียง (คำไวพจน์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร) คือคำที่เขียนต่างกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงเหมือนกัน เช่น คำว่า ใจ กับ ไจ จร กับ จอน
คำพ้องความ (คำไวพจน์ของพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ) คือคำต่างรูป ต่างเสียง แต่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกัน เช่น กิน กับ รับประทาน กัลยา นารี สุดา สมร หญิง เป็นคำพ้องความกัน
รวมคำไวพจน์ หมวด ถ
คำไวพจน์ หมวด ถ ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- คำไวพจน์ ถึง = ตราบเท่า / บรรลุ / ฮอด / ดล / จำรด / จรด / จด / เถิง / จวบจวน / จวบ / ถั่ง / เคจฉะ / ลุถึง / ลุ / อาบัน / ร่วม / ประสบ / พบ
- คำไวพจน์ ถ้อยคำ = คำกล่าว / กถา / คำอธิบาย / กถามุข / กถามรรค / กถามรรคเทศนา / ปาฐกถา / ธรรมกถา / อรรถกถา / สัมโมทนียกถา / อารัมภกถา / อารัมภบท / กถาพันธ์