คำไวพจน์กลุ่ม คำกริยา

คำไวพจน์กลุ่ม คำกริยา ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนต่างกันหรือใช้ในบริบทต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า คำพ้องความ / การหลากคำ / คำพ้องรูป / คำพ้องความหมาย

คำพ้องมีกี่ประเภท?

ปัจจุบัน มีการศึกษาคำที่พ้อง และแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความหมายหรือคำพ้องความ

คำพ้องรูป คือคำที่มีรูปเขียนเหมือนกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้ เช่น คำว่า ชิน แปลว่า คุ้นจนเจน หรือผู้ชนะ หรือเนื้อโลหะเจือชนิดหนึ่ง

คำพ้องเสียง (คำไวพจน์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร) คือคำที่เขียนต่างกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงเหมือนกัน เช่น คำว่า ใจ กับ ไจ จร กับ จอน

คำพ้องความ (คำไวพจน์ของพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ) คือคำต่างรูป ต่างเสียง แต่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกัน เช่น กิน กับ รับประทาน กัลยา นารี สุดา สมร หญิง เป็นคำพ้องความกัน

คิด = กระสัน,ครุ่นคิด,คะนึง,คำนึง,คิดคด,จินต,จินต-,จินต์,จินต์จล,ชั่งใจ,ดำริ,ตรอง,ตริ,ตริตรอง,ตรึก,ตรึกตรอง,ถวิล,นึก,นึกตรอง,มโน,ริปอง,ใคร่ครวญ,ไตร่ตรอง

เคลื่อนไหว = ขยับ,คลา,คลาน,จรลี,จรัล,ดำเนิน,ถีบทาง,ทะท่าว,ท่าว,นวย,ประพาส,ผันผาย,ผเดิน,ยก,ยวรยาตร,ยัวรยาตร,ยาตร,ยาตรา,ยืด,ยุรบาตร,ยุรยาตร,ย่าง,ย่างตีน,ย่างเท้า,ย้าย,ลีลา,หลบ,เคลื่อน,เคลื่อนที่,เดาะ,เดิน,เดินเหิน,เตร่,เยื้องย่าง,ไคลคลา

 แสดงความคิดเห็น